ล่าสุด

นักวิจัยฝึกโดรนหาคนหลงป่า

นักวิจัยฝึกโดรนหาคนหลงป่า

ทุกๆปีในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ทางหน่วยงานฉุกเฉินต้องรับสายกว่า 1,000 สายเนื่องจากเหตุการณ์นักปีนเขาได้รับบาดเจ็บหรือสูญหาย ในประเทศใหญ่ๆที่นักท่องเที่ยวเข้าไปในป่าเป็นจำนวนมาก ก็ย่อมเกิดปัญหามากขึ้นเป็นทวีคูณ

นั่นคือเหตผลว่าทำไมวิศกรด้านหุ่นยนต์และนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ในสวิสฯ กำลังฝึกโดรนในการบินเข้าไปตามเส้นทางในป่าใด้ เนื่องจากโดรนนั้นราคาไม่แพง และสามารถเดินทางได้อย่างรวดเร็วสามารถครอบคลุมพื้นที่ในการค้นหาได้มาก อันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาและช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที

ยิ่งหาคนเจ็บหรือคนหลงทางได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะสามารถส่งคนเข้าไปช่วยเหลือได้เร็วเท่านั้น

แต่ปัญหาคือ โดรน ยังไม่สามารถปรับตัวเองในการที่จะลัดเลาะไปตามป่าทีบได้ การฝึกโดรนให้บินผ่านป่าเข้าไปในนั้น นักวิทยาศาสตร์ที่สถาบัน Dalle Molle สำหรับปัญญาประดิษฐ์ และมหาวิทยาลัย Zurich กำลังพัฒนาซอฟแวร์ในการนำทางอยู่

โดยซอฟแวร์ตัวนี้จะทำให้โดรนสามารถประมวลผลภาพป่าไม้และหาเส้นทางเดินที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ได้

นักวิจัยกล่าว่า การแปลความหมายจากภาพในสภาพป่าที่ซับซ้อนนั้นยากมากสำหรับคอมพิวเตอร์ แม้แต่มนุษย์เองบางทีก็ยังยากที่จะหาเส้นทางเดินให้เจอ

Giusti และทีมงานได้พยายามฝึก โดรน โดยการใส่ภาพจำนวนกว่า 20,000 ภาพ โดยเป็นภาพเส้นทางเดินในป่าที่นำมาจากกล้องติดหมวกที่บันทึกจากการเดินเท้าด้วยคน และเมื่อมีซอฟท์แวร์ในการเรียนรู้ โดรนสามารถคาดเดาเส้นทางที่ถูกต้องได้ถึง 85% เมื่อเทียบกับมนุษย์ที่สามารถบอกเส้นทางได้ถูกต้อง 82%

โดรนจะทำหน้าที่ประเมิณสภาพแวดล้อมใหม่ ตัดสินใจเกี่ยวกับเส้นทางในป่าล่วงหน้า จากการประมวลผลของข้อมูลจำนวนมากที่มีอยู่ในหน่วยความจำ

ด้านผู้อำนวยการสถาบัน Dalle Molle Institute for Artificial Intelligence กล่าวว่าเขารู้สึกยินดีมากที่ห้องทดลองของเขามีวิธีการในการนำงานวิจัยด้านโครงข่ายประสาทเทียมไปใช้งานจริง เช่นการรับรู้เสียงพูดบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน หุ่นยนต์ขนาดเบาอย่างโดรน และคาดว่าจะมีการใช้งานในด้านต่างๆอีกมากในช่วงอนาคตอันไกล้นี้

ที่มา sci-tech-today.com
ภาพ UZH/USI/SUPSI.

Advertisment

Leave a comment