รีวิว DJI Phantom 4 Pro กับการทดลองบินจริง
รีวิว DJI Phantom 4 Pro กับการทดลองบินจริง
DJI ได้มีการพัฒนาความสามารถของโดรนอย่างต่อเนื่อง จากเดือนที่แล้วที่ได้มีการประกาศเปิดตัว Phantom 4 Pro และ Pro+ ซึ่งตามหลังมาติดๆหลังจากที่เปิดตัว Phantom 4 มาไม่กี่เดือนก่อนหน้านั้น และตอนนี้ในไทยก็มีการวาง ขาย DJI Phantom 4 Pro ราคาไม่แพงกันแล้ว
โดย Phantom 4 Pro มีจุดเด่นที่ตัวรับภาพขนาด 1 นิ้วนั้นมีพื้นผิวขนาดเป็น 4 เท่าของกล้องรุ่น Phantom 4 และยังสามารถถ่ายวิดีโอในระดับ 4K ที่ 60 fps และถ่ายภาพแบบ Raw และ JPG ที่ความละเอียด 20 ล้านพิกเซล
การออกแบบ
จะว่าไปแล้วรูปร่างภายนอกของ Phantom 4 Pro นั้นก็จะเหมือนกับรุ่น Phantom 4 ธรรมดา โดยเป็นตัวเครื่องขนาด 4 ใบพัดพร้อมเส้นสายที่ดูลื่นไหลและผิวมันวาว
ส่วนที่ยังเหมือนกับ Phantom 4 ก็คือรุ่น Pro นี้สามารถใช้กล่องบรรจุภัณฑ์เป็นกล่องพกพาได้เลย โดยขนาดกล่องก็กระทัดรัด คล่องตัวหากคุณต้องเดินทางด้วยรถยนต์ไปไหนมาไหน เสียแต่ก็เพียงที่จับเล็กไปหน่อยแค่นั้น ดังนั้นหากคุณต้องหิ้วมันขึ้นเขาลงห้วยด้วยมือ ก็อาจจะต้องซื้อกล่องแบบ Backpack ต่างหาก
นอกจากนี้แล้ว ตัวรีโมทคอนโทรลก็มีลักษณะเหมือนๆกับรุ่น Phantom 4 ธรรมดา โดยจะมาพร้อมคลิปสำหรับเอาไว้ยึดสมาร์ทโฟน หรือแทพเล็ท มันมาพร้อมจอยสติกสองก้าน และแป้นหมุนปรับกล้อง ปุ่มด้านหลังที่ตั้งค่าได้ และปุ่มสำหรับไว้หยุดการบินอัตโนมัติชั่วคราวแล้วให้เครื่องบินกลับมายังจุดเริ่มต้น ซึ่งทั้งสองอย่างจะช่วยในการป้องกันอุบัติเหตุได้
เซ็นเซอร์รอบด้าน
Phantom 4 ถือเป็นโดรนตัวแรกของ DJI ที่มีเซ็นเซอร์ไว้ตรวจจับสิ่งกีดขวางด้านหน้าและมีการนำมาใส่ในรุ่น Mavic Pro อีกด้วย สำหรับรุ่น Phantom 4 Pro ก็ได้มีการเพิ่มเซ็นเซอร์ในลักษณะเดียวกันไว้ด้านหลังอีกด้วย เพื่อป้องกันการบินถอยหลังไปชน
นอกจากนี้แล้วยังมีเซ็นเซอร์ในทิศทางลงด้านล่างเหมือนกับรุ่น Mavic Pro ซึ่งจะทำงานร่วมกับระบบระบุตำแหน่งจากภาพที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้สามารถในการประคองตัวนั้นดีขึ้นกรณีการบินในระดับต่ำ Phantom 4 Pro ยังรองรับการบินไปตามเส้นทางธรรมชาติได้อีกด้วย โดยการคงระดับความสูงแล้วติดตามพื้นผิวนั้นไปซึ่งสามารถกระทำได้แม้จะสภาพเนินสูงต่ำก็ตาม
อีกทั้งยังมีเซ็นเซอร์แบบอินฟราเรดทั้งด้านข้างซ้ายขวา แต่จะไม่มีความสามารถเท่าเซ็นเซอร์หลบหลีกสิ่งกีดขวางที่อยู่ด้านหน้าและด้านหลัง และอาจจะไม่ทำงานในทุกโหมดการบิน ดังนั้นอย่าแม้แต่จะคิดที่จะบิน Phantom 4 Pro แบบไม่แยแสแล้วปล่อยให้มันบินเอาด้านข้างไปชนกับกำแพงเอาได้
หากต้องการให้มันหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ทุกทิศทาง คูณจะต้องเลือกบินในโหมด Beginner หรือโหมด Tripod ซึ่งทั้งสองโหมดจะทำให้ความเร็วสูงสุดในการบินนั้นต่ำลง และในโหมด Tripod นั้นจะสามารถปรับค่าตำแหน่งของโดรนได้อย่างละเอียดเลื่อนไปทีละนิดๆ เหมือนเวลาเราตั้งกล้องแล้วใช้ขาตั้งค่อยๆขยับนั่นแหละครับ ซึ่งทำได้ด้วยการใช้จอยสติกในการควบคุม
ระบบหลบหลีกสิ่งกีดขวางทั้งด้านหน้าและด้านหลังนั้นสามารถทำงานได้ดีในการบิน Phantom 4 Pro ที่ความเร็วสูงสุดราว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมันก็ทำงานได้ดีโดยเมื่อลองบินความเร็วเต็มที่เข้าไปหาสิ่งกีดขวาง มันก็จะหยุดนิ่งในทิศทางนั้นๆทันที
โดรนรุ่นนี้ยังมีโหมดการบินแบบ Sport อีกด้วย ซึ่งจะเพิ่มความเร็วสูงสุดเป็น 72 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ระบบหลบหลีกสิ่งกีดขวางจะไม่ทำงาน มันจะสามารถบินได้เร็วกว่านี้หากมีทิศทางลมช่วย ซึ่งในแอพที่ผมบินมันบอกว่าบินได้ที่ความเร็ว 80 กม/ชม เลยทีเดียวด้วยระยะเวลาหนึ่งที่ผมได้ทดลองบิน
เตรียมพร้อมสำหรับการบิน
หากคุณได้เป็นเจ้าของ Phantom 4 Pro แล้วเป็นโดรนตัวแรกของคุณแล้วละก็ คุณอาจจะต้องยอมสละเวลาซักนิดในการการทดลองใช้โปรแกรมบินจำลองก่อนที่จะลองบินจริงๆ
โดยระบบฝึกบินจำลองตัวนี้มีมาให้ฟรีพร้อมกับ DJI Go Smartphone แอพ ซึ่งดาวน์โหลดได้ฟรีทั้งสาวก iOS และ Android ซึ่งโปรแกรมจำลองการบินนี้จะช่วยให้คุณได้ลองฝีกบินผ่านโลกเสมือนจริง ถือเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีมากสำหรับการฝีกใช้งานตัวรีโมทให้ชำนาญ
สำหรับการลองขึ้นบินจริงเป็นครั้งแรก แนะนำว่าให้หาพื้นที่โล่งและไม่รบกวนคนอื่น ไม่บินใกล้ชุมชนหรือสถานที่ราชการและสนามบิน เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการแล้วท่านต้องตรวจสอบเฟิร์มแวร์ให้มั่นใจว่าเป็นรุ่นใหม่ล่าสุดแล้ว และตรวจสอบว่าแบตเตอร์รี่ชาร์ชไว้เต็มแล้วทั้งตัวโดรน ตัวรีโมท และแม้แต่สมาร์ทโฟนของคุณ
เมื่อไปถึงสนามก็ใส่ใบพัด ซี่งก็แค่หมุนให้ลงล้อคได้ง่ายๆ ใบพัดแถบสีดำก็เอาไปติดไว้กับมอเตอร์ที่มีจุดสีดำ ส่วนใบพัดที่มีแถบสีเงินก็ไปติดตั้งกับมอเตอร์ที่มีจุดสีเงิน
หลังจากเริ่มเปิดเครื่อง ก็ปล่อยทิ้งมันไว้ซักประมาณ 1 นาที ให้มันได้ล้อคค่าจากดาวเทียม GPS ก่อน อีกทั้งยังให้เวลาเพื่อให้มันกำหนดตำแหน่ง Home ให้ได้แม่นยำขึ้น สถานะดาวเทียมจะมีการแสดงผลไว้ในแอพ DJI Go รวมทั้งตำแหน่ง Home ด้วย
หากคุณใช้ Smartphone คุณก็จะเห็นแผนที่โลกในหน้าจอเล็กๆที่ซ้อนอยู่กับภาพจากกล้อง หากเราเอานิ้วไปแตะสองครั้งมันก็จะสลับหน้าจอไปมา ส่วนคนที่ใช้ Tablet หากความเร็วในการต่อเน็ตช้าก็จะไม่เห็นแผนที่
หากคุณบินในอาคารหรือพื้นที่ที่ไม่มี GPS คุณก็จะสามารถเปลี่ยนค่าบนรีโมทจากการบินโหมด P เป็นโหมด A ได้ ซึ่งในโหมดนี้จะทำให้คุณบินได้โดยไม่ต้องใช้งานระบบ GPS ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่บินอย่างชำนาณแล้วเท่านั้น
การควบคุมการบิน
Phantom 4 Pro นั้นมาพร้อมกับรีโมทคอนโทรลอันใหญ่ที่ใช้งานได้ง่าย ก้านโยกด้านนึงเอาไว้เปลี่ยนระดับความสูงและหมุนตัวโดรนรอบแกนแนวดิ่ง ส่วนคันโยกอีกด้านเอาไว้บังคับการบินไปหน้าและถอยหลัง และบินไปทางซ้ายหรือไปทางขวา ส่วนการขึ้นบินและลงจอดนั้นมันทำเองอัตโนมัติด้วยการสั่งงานผ่านแอพ
โดรนตัวนี้มีโหมดการบินแบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติอีกด้วย ซึ่งสามารถควบคุมได้ผ่นแอพ คุณเองก็อาจจะต้องพยายามหัดบินแบบแมนน่วลให้คล่องด้วย เพราะบางครั้งเราก็ไม่รู้ว่าจะเจอกับสถานการณ์ใดบ้าง เราอาจจะต้องควบคุมการบินเองในบางครั้งเพื่อหลบหลีกอุบัติเหตุ
โหมดการบินที่มีให้มาก็เช่น Point of Interest, Waypoint, Follow, Course Lock และ Home Lock ซึ่งเป็นโหมดการบินที่คุ้นเคยกันนี่ในหมู่นักเล่นโดรนอยู่แล้ว เลยขออธิบายสั้นๆดังนี้คือ
Point of Interest จะบินวนรอบๆจุดที่เรากำหนด แล้วหันกล้องมาที่จุดนั้นตลอดเวลา
Waypoint จะบินระหว่างหลายๆจุดที่กำหนดไว้ซ้ำไปมา โดยอันดับแรกคุณต้องบินกำหนดเส้นทางเองก่อน
Follow จะบินตามตำแหน่งของตัวรีโมท และจะพยายามไล่ตามให้ทันเมื่อรีโมทเปลี่ยนต่ำแหน่ง
Course Lock และ Home Lock จะเป็นวิธีการที่โดรนจะตอบสนองกับตัว Joystick โดย Course Lock จะทำให้โดรนบินในทิศทางที่กำหนดตามทิศทางของตัวโดรน และคุณก็จะใช้ joystick ในการปรับการหมุนของโดรนและกล้องขณะที่มันบินไปในทิศทางนั้น ส่วน Home Lock จะเป็นการปรับค่านั้นจะอยู่ระหว่างตำแหน่งที่โดรนอยู่ตอนนั้นกับตำแหน่ง Home แล้วปล่อยให้คุณเล่นกับ Joystick ไป
ในโหมดนี้การดึง Joystick ด้านขวาเข้าหาตัวจะทำให้โดรนวิ่งเข้ามาและห่างตัวจะทำให้โดรนวิ่งออกไปโดยไม่ต้องสนใจว่าตอนนั้นโดรนหันหน้าไปทางไหน
Active Track จะเหมือนกับ Phantom 4 โดยตุณจะสามารถกำหนดเส้นทางเป็นสี่เหลี่ยมรอบวัตถุที่สนใจ โดรนก็จะจดจำและบินตามวัตถุนั้นไป ซึ่งถือว่ามันทำงานได้ดีมากตราบเท่าที่วัตถุนั้นไม่เล็กเกินไปและไม่กลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมมากนัก
ผมลองให้มันบินตามตัวผมเองได้โดยไม่ยาก ผมใส่เสื้อสีแทนแล้วยืนบนสนามหญ้าสีเขียวมันก็ยังตามได้ดี แต่ตอนลองให้มันบินตามสุนัข พอสุนัขวิ่งจากสนามหญ้าไปยังพื้นหญ้าแห้งที่มีสีใกล้เคียงกันโดรนก็ถึงกับหาทิศทางไม่เจอ
TapFly ซึ่งจะเป็นการกำหนดเส้นทางการบินระหว่างสองจุดด้วยการเอานิ้วไปแตะบนหน้าจอ
Draw คล้ายๆกับ TapFly แต่ยอมให้คุณเลือกเส้นทางได้ โดยระหว่างการบินมันจะหลบหลีกสิ่งกีดขวางไปในตัว
ประสิทธิภาพการบิน
Phantom 4 Pro นั้นทำความเร็วได้สูงสุดราว 50 กม/ชม ในโหมดที่ต้องใช้ค่า GPS และระบบหลบหลีกสิ่งกีดขวางสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เมื่อบินในโหมดนี้เราจะไม่เห็นใบพัดในวิดีโอที่บันทีกไว้ แม้จะหันกล้องไปในแนวราบก็ตาม
ใน Sport Mode ที่บินเร็วกว่า และระบบหลบหลีกสิ่งกีดขวางจะไม่ทำงาน และแต่นอนในโหมดนี้จะเห็นใบพัดในวิดีโอ ทั้งนี้ทาง DJI ระบุว่าความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 72 กม/ชม แต่เมื่อบินตามลมผมบินได้ถึง 77 กม/ชม เลยทีเดียว ซึ่งความเร็วของการบินก็เทียบเท่ากับ Phantom 4 เนื่องจากใช้อุปกรณ์สำหรับการบินเหมือนกันนั่นเอง
สำหรับระยะไกลสุดในการบินนั้นสำหรับกลางทุ่งผมลองบินได้ไกลสุดราวๆ 1.27 กิโลเมตร ก่อนที่ภาพจะเริ่มมีเส้นๆ ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้ผมก็บังคับใหัมันบินวนกลับมา ส่วนในเมืองซึ่งมีสัญญาณไวไฟและอื่นๆรบกวน ผมบินไปได้ราว 800 เมตร ก่อนที่สัญญาณวิดิโอจะเริ่มอ่อน ซึ่งผลการบินทั้งสองกรณีก็พอๆกับ Phantom 4 ที่ผมเคยทดลองบินมาก่อนหน้านี้ โดยโครนที่บินได้ไกลในย่านชนบทที่เราเคยลองมาแล้วก็น่าจะเป็น DJI Mavic Pro ละมั้งที่บินได้เป็นกิโลโดยภาพไม่ขาดหาย
ระบบ Hardware ด้านในประกอบด้วย IMU สองตัว พร้อมกับระบบทรงตัวที่อาศัยตำแหน่งจากทั้งดาวเทียม GPS และ GLONASS ซึ่งก็เหมือนกับใน Phantom 4 สำหรับการบินในร่มที่ไม่ใช้ดาวเทียมก็จะอาศัยระบบ Vision Positioning System โดยการวิเคราะห์ภาพบนพื้นและพยายามรักษาตำแหน่งโดรนให้คงที่ แต่จะทำงานได้ไม่ดีหากพื้นผิวสะท้อนแสงมากเกินไป
อายุของแบตเตอร์รี่นั้นก็ถือว่าใช้ได้ดี ทาง DJI ระบุว่า Phantom 4 Pro จะบินได้ 30 นาที ซึ่งเป็นตัวเลขในอุดมคติ แต่การใช้งานจริงผมบินได้ราวๆ 25 นาที แล้วก็ลงจอดตอนที่แบตเตอร์รี่เหลือประมาณ 8% ซึ่งจะว่าไปแล้วก็ถือว่าใกล้เคียงตัวเลขที่ DJI ระบุไว้
ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาเพิ่มขึ้นจาก Phantom 4 ที่ระบุตัวเลขว่าจะบินได้ 28 นาที และบินได้จริงๆอยู่ที่ประมาณ 23 นาทีจากการทดสอบของเราก่อนหน้านี้
คุณภาพสัญญาณวิดีโอและภาพนิ่ง
แม้ว่าหลายคนอาจจะมองว่าจุดเด่นของ Phantom 4 Pro คือเซ็นเซอร์ด้านหลังที่มีมาให้เพิ่มเติม แต่ในความเป็นจริงแล้วจุดเด่นที่น่าสนใจของ Phantom 4 Pro เมื่อเทียบกับ Phantom 4 ธรรมดาก็คงเป็นเรื่องของกล้อง
Phantom 4 Pro ใช้กล้องวิดิโอรุ่นใหม่ถอดด้ามที่มีเซ็นเซอร์รับภาพขนาด 1 นิ้ว และสามารถบันทึกภาพในระดับ 4K ได้ที่ 60 เฟรมต่อวินาที และจับภาพนิ่งแบ Raw และ JPG ได้ที่ 20 ล้านพิกเซล การใช้เซ็นเซอร์รับภาพขนาด 1 นิ้วนั้นได้พิสูจน์ถึงการเป็นตัวรับภาพที่มีสมรรถนะสูงอย่างเช่น Sony Cyber Shot DSC-RX100 นั่นเอง
เหตุผลง่ายๆก็คือ พื้นที่เพิ่มขึ้นเป็นขนาด 1 นิ้วนั้น ว่าไปแล้วก็ถือได้ว่ามีขนาดใหญ่กว่าเดิมเกือบ 4 เท่าเมื่อเทียบกับขนาด 1/2.3 นิ้วที่โดรนทั่วไปนิยมใช้กัน (รวมทั้ง Phantom 3 และ Phantom 4) สมาร์ทโฟนและกล้องดิจิตอลทั่วไป
ยิ่งเซ็นเซอร์มีขนาดใหญ่ขึ้นก็หมายความว่าจะสามารถใส่จำนวนพิกเซลเข้าไปได้เพิ่มขึ้นนั่นเอง
นอกจากเซ็นเซอร์รับภาพที่ใหญ่ขึ้นแล้ว ตัวกล้องยังมีการเพิ่มความสามารถในการควบคุมหน้ากล้องและระบบ shutter แบบแมคคานิคส์เข้าไปด้วย สำหรับ FOV ตอนนี้จะเป็นตัวเลขประมาณ 24 มม ซึ่งอาจจะทำให้ได้มุมภาพแคบลงกว่าขนาด 20 มม ที่ใช้กับ Phantom 4 แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพด้วยค่า f ที่ 2.8 เสมอไป เราสามารถลดค่าลงไปได้จนถึง f/11 เลยทีเดียว ซึ่งจะช่วยให้ได้ภาพที่เหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้น
สำหรับ shutter แบบเชิงกล (Mechanic) นั้นจะช่ายลดภาพในลักษณะที่เราจะเห็นการหมุนวนของสิ่งของต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราเห็นใบพัดหมุนอยู่ในภาพ ปรากฏการณ์ลักษณะที่เคยพบเจอในกล้องแบบเดิมๆที่ใช้ shutter แบบอิเลคทรอนิคส์จะหายไป แต่ในบางมุมที่ต้องวิงย้อนแสงก็อาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถือว่าลดภาพน่ารำคาญไปได้มาก
ตัวเลือกในการบันทึกภาพวิดีโอนั้นมีเยอะมาก หากคุณต้องการถ่ายวิดีโอในระดับความละเอียดสูงสุดที่ 4K DCI ด้วยแอสเป็คเรโช 2:1 เหมือนในโรงภาพยนต์คุณจะสามารถบันทีึกได้ที่ 24 25 หรือ 30 เฟรมต่อวินาที แต่ถ้าบันทีกแบบ UHD 4K ที่ 16:9 สามารถเลือกเฟรมเรตได้ตั้งแต่ 24 25 30 หรือ 60 เฟรมต่อวินาที
ในทุกกรณีของ 4K จะมีการบีบอัดที่อัตรา 100 Mbps โดยใช้การบีบอัดแบบ H.264 แม้เราอาจจะเลือกใช้ H.265 ก็ได้แต่การบันทีกที่ระดับ 4K อาจจะได้ไม่ถึง 60 เฟรมต่อวินาที
หากคิดว่าระบบ 4K นั้นเป็นสิ่งไกลเกินเอื้อมสำหรับระบบของคุณ คุณอาจจะเลือกความละเอียดที่ 2.7K (1530p) ก็ได้โดยสามารถบันทีกได้ถึง 30 เฟรมต่อวินาทีที่ 65 Mbps หรือที่ 48 50 หรือ 60 fps ที่ 80 Mbps
ส่วนการบันทีกในระดับ HD (1080p) นั้นจะบีบอัดข้อมูลที่ 50 Mpbs จะได้เฟรมเรทสูงสุดที่ 30 fps หากบีบอัดที่ 65 Mbps ก็จะได้ถึง 60 fps และที่ 100 Mbps ก็จะได้เฟรมเรทสูงถึง 120 fps
ที่ระดับความละเอียดต่ำอย่าง 720p ที่ 25 Mbps ก็จะได้เฟรมเรทที่ 30fps ไปจนถึง 60Mbps ที่จะได้เฟรมเรทถึง 120fps ซึ่งการตั้งค่าเหล่านี้ทำได้ทั้งเป็นแบบ H.264 หรือ H.265 และจะเลือกการบันทึกเป็นได้ทั้ง MOV หรือ MP4
ในส่วนของภาพนิ่งจะได้รายละเอียดที่มากขึ้น หากเทียบกับกล้องใน Phantom 3 ซึ่งจะถ่ายภาพได้ที่ 12 ล้านพิกเซล ด้วยความสามารถในการถ่ายภาพที่ 20 ล้านพิกเซลและเซ็นเซอร์รับภาพที่ใหญ่ขึ้นทำให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าทึ่งกว่าแต่ก่อนมาก
บทสรุป
ตอนที่ผมทดลองบิน Phantom 4 ใหม่ๆ ตอนนั้นผมรู้สึกประทับใจมากว่าทาง DJI ได้พัฒนาโดรนขึ้นไปอีกขั้นเมื่อเทียบกับ Phantom 3 และทำให้เป็นที่รู้ว่า DJI นั้นนำหน้าคู่แข่งไปกี่ขุม ตอนนั้นผมก็ให้ 5 ดาวไปแล้ว ซึ่งถือว่าสำหรับผมแล้วนานๆถึงจะให้ 5 ดาวกับใครๆ
แต่สำหรับ Phantom 4 Pro ผมก็คงไม่ถึงกับจะให้ 5 ดาวอีก เพราะจะว่าไปแล้วการพัฒนาต่างๆเหมือนจะคาดเดาได้อยู่ ไม่ได้รู้สึกมีอะไรโดดเด่นเมื่อเทียบกับตัวก่อนหน้าแบบเดียวกับกรณี Phantom 3 เป็น Phantom 4 แต่ก็ถือว่าเป็นโดรนที่น่าเล่นเลยทีเดียว
ซึ่งหากคุณมีงบมากขึ้นไปอีก คุณอาจจะสนใจ Phantom 4 Pro+ ซึ่งจะมาพร้อมกับหน้าจอในตัวรีโมทพร้อมสรรพ ซึ่งทำให้คุณไม่จำเป็นต้องใช้ smartphone หรือ tablet แยกต่างหาก แต่จะว่าไปแล้วการมีหน้าจอมาด้วยนั้นอาจจะยังมีจุดด้อยในบางประเด็นเราเลยจึงไม่ค่อยแนะนำมากนัก ขอแนะนำว่าเล่นตัว Phantom 4 Pro นั้นน่าจะดีกว่า
สำหรับผู้ที่สนใจ DJI Phantom 4 Pro ราคา ไม่แพงคลิ้กที่ลิ้งค์เลยครับ