การแสกนสมอง อาจะเผยถึงสภาวะการรับรู้ในผู้ป่วย
การแสกนสมอง อาจะเผยถึงสภาวะการรับรู้ในผู้ป่วย
วิธีการแสกนสมองแบบมาตรฐานทั่วไปนั้น กำลังแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่เป็นไปได้ในการช่วยให้หมอแยกแยะสถานะของผู้ป่วยระหว่างสภาวะผัก (Vegetative State) กับสภาวะรับรู้ที่ซ่อนอยู่ (hidden signs of consciousness)
ผลการวิจัยซึ่งได้รับการเปิดเผยเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา ถือเป็นผลการศึกษาล่าสุดในการใช้เทคโนโลยีในการตอบคำถามอันท้าทายในการแยกแยะสถานะผู้ป่วยซึ่งปัจจุบันอาศัยเพียงความเห็นของแพทย์เท่านั้น
ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเจ้าหญิงนิทรา (Vegetative state) จะอยู่ในภาวะตาค้างและมีวงรอบของการหลับและตื่นให้เห็น แต่จะไม่รับรู้ตัวเองและสิ่งรอบข้าง ไม่สามารถคิดหรือตอบสนองหรือทำอะไรอย่างมีเป้าหมายได้
ส่วนผู้ป่วยที่อยู่ในสถานะรับรู้ได้เล็กน้อย (Minimally concious state) จะแสดงอาการรับรู้เพียงเล็กน้อยออกมาเป็นระยะๆในการรับรู้ตัวเองและสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้การแยกแยะระหว่างสองสถานะดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากหากทราบว่าผู้ป่วยรับรู้ได้เล็กน้อยก็จะสามารถทำการรักษาให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสารและป้องกันจากภาวะทนทุกข์ทรมานได้ เนื่องจากผู้ป่วยตอบสนองต่อการกระตุ้นจากยา หรือเสียง การสัมผัส ดนตรี หรือกลิ่นต่างได้ดีกว่า
จากผลการวิจัยอันใหม่ที่เปิดเผยโดยวารสาร Current Biology นั้น นักวิจัยจากเดนมาร์ก เบลเยี่ยม และจากมหาวิทยาลัย Yale ได้ศึกษาด้วยการใช้การแสกนสมองจากเครื่อง FDG-PET เพื่อจะวัดการเผาผลาญน้ำตาลในเลือดของสมอง ซึ่งน้ำตาลในเลือดนั้นสมองจะใช้เสมือนเป็นเชื้อเพลิงนั่นเอง
พวกเขาสามารถตรวจจับระดับการเผาผลาญและสามารถแยกแยะผู้ป่วยสองกลุ่มนี้ออกมาได้
จากการศึกษาผู้ป่วย 49 รายที่อยู่ในภาวะเจ้าหญิงนิทรา และอีก 65 รายที่อยู่ในภาวะการรับรู้ต่ำที่วินิจฉัยจากแพทย์ปกติ นักวิจัยพบว่าจากการนำผลการแสกนสมองแล้วหาค่าที่เหมาะสม (cutoff) พวกเขาสามารถแยกแยะผู้ป่วยได้แม่นยำถึง 88 เปอร์เซ็น
หลังจากนั้นผ่านไป 1 ปี นักวิจัยได้ตรวจสอบสถานะของผู้ป่วยอีกครั้ง พวกเขาพบว่า 8 ใน 11 คนของผู้ป่วยในสภาวะผัก (เจ้าหญิงนิทรา) ที่ผ่านเกณฑ์ว่าน่าจะเป็นผู้ป่วยที่มีการรับรู้ต่ำได้ฟื้นขึ้นมา ส่วนอีก 3 รายได้เสียชีวิตลง
ส่วนในกลุ่มการรับรู้ต่ำ 3 คน ซึ่งผลการแสกนสมองระบุน่าว่าไม่ถึงเกณฑ์ (below cutoff) หรือแปลความว่าน่าจะอยู่ในสภาวะผักนั้น จากที่หาข้อมูลที่เคยทดลองไว้เจอเพียงสองราย พบว่ารายหนึ่งยังไม่มีอะไรดีขึ้น และอีกรายหนึ่งเสียชีวิตลง
ด้านนายแพทย์ Nicholas Schiff ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาที่วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ Weill Cornell ในกรุงนิวยอร์ค ซึ่งไม่ได้ร่วมในการวิจัยนี้กล่าวว่า เรื่องนี้สำคัญมาก โดยเขาระบุว่าการทดลองดังกล่าวน่าจะช่วนสนับสนุนให้สามารถวินิจฉัยสถานะผู้ป่วยได้เร็วและสามารถให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม
ที่มา http://www.sci-tech-today.com
Leave a comment
You must be logged in to post a comment.