นักวิจัยพบ คลื่นความร้อนหายนะจะเกิดบ่อยขึ้น
นักวิจัยพบ คลื่นความร้อนหายนะจะเกิดบ่อยขึ้น
ผลการศึกษาที่ได้มีการตีพิมพ์ในวันนี้ลงนิตยสาร Nature Climate Change ได้ทำนายเอาไว้ว่า คลื่นความร้อนจะเกิดบ่อยมากขึ้นในอนาคต ซึ่งผลการศึกษาพบว่าในปัจจุบันประมาณ 30% ของโลกกำลังประสบกับคลื่นความร้อนที่มีผลรุนแรงต่อชีวิตอย่างน้อย 20 วันต่อปี
แต่หากยังมีการปล่อยแก็สเรือนกระจกอยู่อย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นแล้วละก็ สัดส่วนดังกล่าวอาจจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 74% ในปี 2100 เลยทีเดียว
นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยฮาวายที่เมือง Manoa ได้ประเมินรายงานตีพิมพ์ช่วงระหว่างปี 1980 ถึงปี 2014 แล้วพบว่ากว่า 900 เรื่องที่มีการรายงานคลื่นความร้อนระดับรุนแรง และมีรายงานจำนวนรวมทั้งสิ้น 800 รายงานที่มีกรณีคลื่นความร้อนรุนแรงเกิดขึ้นใน 36 ประเทศ
รายงานเหล่านี้รวมเหตการณ์อย่างเช่นในปี 2013 ที่มีคลื่นความร้อนที่ทำให้มีการเสียชีวิตเกือบ 5,000 คนในกรุงปารีส และคลื่นความร้อนในปี 2010 ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตกว่า 10,000 คนในกรุงมอสโคว
จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์เหตการณ์เหล่านี้เพื่อที่จะตัดสินว่าที่อุณหภูมิและความชื้นเท่าใดที่ทำให้เกิดความรุนแรงถึงขึ้นเสียชีวิต พวกเขาเอาข้อมูลเหล่านั้นมาปรับให้เข้ากับข้อมูลสภาวะแวดล้อมในปัจจุบันและเพื่อคำนวนว่าจะมีประชากรเท่าใดที่ต้องประสบกับคลื่นความร้อนแบบนั้นในแต่ละปี รวมไปถึงการนำข้อมูลมาปรับให้เข้ากับแนวโน้มในอนาคตเพื่อจะดูว่าสภาพในอนาคตจะเป็นอย่างไร
ทั้งนี้แม้ว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลการคาดการณ์ในระดับที่คิดว่าแก๊สเรือนกระจกจะมีค่าลดลงก็ตาม แต่ผลที่ได้ก็ถือว่าน่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง โดยในกรณีเหล่านั้นคาดว่า 48% ของประชากรโลกจะต้องเจอกับภาวะที่เกิดคลื่นความร้อนอย่างน้อย 20 วันต่อปีสำหรับในอนาคตที่ปี 2100
การค้นพบครั้งนี้ได้เน้นให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องลดแก๊สเรือนกระจกลงให้ได้ แต่สถานการณ์ในปัจจุบันที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นนั้นเราก็คงอาจจะได้เห็นผลลัพธ์ที่น่าตกใจมากกว่านี้ในอนาคตอันใกล้