ล่าสุด

นักวิทย์ค้นพบแบคทีเรียกินขวดพลาสติคได้

นักวิทย์ค้นพบแบคทีเรียกินขวดพลาสติคได้

ทีมนักวิจัยชาวญี่ปุ่นค้นพบแบคทีเรียสายพันธ์ใหม่ที่กัดกินพลาสติคชนิดที่ใช้ทำขวดได้ โดยการค้นพบนี้ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสารทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว ซึ่งน่าจะนำไปสู่กระบวนการใหม่ๆในการจัดการกับขยะขวดพลาสติคที่มีจำนวนมหาศาลถึง 50 ล้านตันต่อปีทั่วโลก

พลาสติคที่ใช้ในการทำขวดพลาสติคนั้นมีชื่อเรียกว่า โพลีเอทธีลีน เทอร์รีพาเลท หรือ PET ซึ่งสามารถพบได้ในเสื่อผ้าโพลีเอสเตอร์และวัสดุอื่นๆอีกด้วย

“หากคุณเดินไปในซุปเปอร์มาร์เก็ตคุณจะพบ PET เป็นจำนวนมาก” เป็นคำกล่าวของ Tracy Mincer ผู้ซึ่งศึกษาพลาสติคในมหาสมุทรที่สถาบัน Woods Hole Oceanographic

จุดเด่นที่คนมักเลือกใช้ PET เนื่องจากมันมีน้ำหนักเบา ไม่มีสี และแข็งแรง อย่างไรก็ตามข้อเสียคือมันย่อยสลายยาก

การศีกษาก่อนหน้านี้มีการค้นพบ fungi บางสายพันธ์ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีบน PET แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่มีใครค้นพบว่าจะมีอะไรย่อยสลายมันได้

การค้นพบแบคทีเรียที่ย่อยสลายพลาสติคได้นั้น ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นจาก Kyoto Institute of Technology และจาก Keio University ได้รวบรวมตัวอย่างที่ปนเปื้อน PET มาจำนวน 250 ตัวอย่าง ทั้งจากบ่อบำบัด ดิน น้ำเสีย และจากแหล่งที่มีการรีไซเคิ้ลขวดน้ำพลาสติค

จากนั้นก็เลือกหาเฉพาะจุลชีพที่อาศัยอยู่บนตัวอย่างเหล่านั้นว่ามีกลุ่มใดที่กำลังกิน PET เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ตอนแรกพวกเขาพบว่ามีแมลงกลุ่มหนึ่งที่ดูเหมือนจะกำลังย่อยสลายฟิลม์ PET แต่สุดท้ายพวกเขาพบว่ามีเพียงแบคทีเรียชนิดเดียวเท่านั้นที่มีส่วนในการที่ทำให้ PET สลายตัวลง พวกเขาเรียกชื่อแบคทีเรียนี้ว่า Ideonella sakaiensis

จากการทดสอบเพิ่มเติมในห้องทดลอง พวกเขาพบว่ามันใช้เอ็นไซม์สองชนิดในการย่อยสลาย PET หลังจากที่มันยึดเกาะบนผิวของ PET แล้ว มันก็จะเริ่มปล่อยเอ็นไซม์ชนิดหนึ่งลงบน PET เพื่อสร้างสารเคมีสภาวะหนึ่งขึ้นมา จากนั้นสารนั้นจะถูกเซลดูดเข้าไปแล้วจะมีเอ็นไซม์อีกตัวย่อยสลายมันลงไปอีกเพื่อให้คาร์บอนกับพลังงานกับแบคทีเรีย

นักวิจัยยังรายงานอีกว่า กลุ่มของแบคทีเรีย Ideonella sakiensis จะทำงานในลักษณะนี้ในการย่อยสลายแผ่นฟิลม์บางของ PED ภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์หากมีการคงอุณหภูมิให้คงที่ที่ประมาณ 86 องศาฟาเรนไฮท์

ด้าน Tracy Mincer กล่าวว่าการศึกษาเรื่องนี้ได้ผลที่น่าประทับใจมาก และถือเป็นผลงานที่เยี่ยมยอดในการแสดงให้เห็นว่าจุลชีพเหล่านี้สามารถกินพลาสติคได้ดี อย่างไรก็ตามเขากล่าวว่ายังไม่เป็นที่ชัดเจนนักว่ามันจะช่วยลดจำนวนขวดพลาสติคในมหาสมุทรลงหรือไม่

แต่เมื่อคิดๆดูแล้วเขากล่าวว่า จริงๆแล้วการนำขวดพลาสติคมาหลอมแล้วทำขวดใหม่อาจจะเป็นคำตอบที่ดีกว่าก็เป็นได้ แต่อย่างน้อยการค้นพบนี้จะช่วยให้เราได้เรียนรู้วิธีการศึกษาหาจุลชีพชนิดอื่นๆที่สามารถย่อยสลาย PET ได้ง่ายขึ้น

ที่มา sci-tech-today.com

Advertisment

Leave a comment