ยานสำรวจดาวอังคารพังเพราะมันกะตำแหน่งพื้นที่ลงจอดผิดพลาด
ยานสำรวจดาวอังคารพังเพราะมันกะตำแหน่งพื้นที่ลงจอดผิดพลาด
องค์การอวกาศแห่งยุโรป (The European Space Agency) เชื่อว่าพวกเขาทราบเหตุผลแล้วว่าทำไมยานสำรวจดาวอังคารที่ชื่อว่า Schiaparelli โหม่งพื้นผิวดาวอังคารไปเมื่อไม่นานมานี้
ผลการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า ยานสำรวจลำนี้ลืมไปว่าพื้นดินข้างล่างอยู่ตรงไหนกันแน่ ตัวหัววัดที่วัดระดับความสูงทำงานผิดผลาดแค่เสี้ยววินาที แต่มันก็นานพอที่จะทำให้ภารกิจทั้งหมดต้องล้มเหลวลงไป ทั้งนี้เนื่องจากยานสำรวจลำนี้เชื่อว่ามันลงจอดแล้วมันเลยทำกระบวนการลงจอดต่างๆและเปิดหัววัดต่างๆสำหรับการลงจอดพร้อมสรรพ
การสอบสวนหาสาเหตที่แท้จริงของความล้มเหลวในครั้งนี้ยังดำเนินต่อไปและคาดว่าคงจะใช้เวลาอีกนาน แต่เจ้าหนัาที่เชื่อกันว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยวัดค่าความเฉื่อยภายในนั้นอิ่มตัวประมาณ 1 วินาที ซึ่งกลายเป็นการส่งสัญญาณให้กับระบบว่ามันอยู่ใต้ผิวดินเรียบร้อยแล้ว
ผลที่ตามมาก็คือชุดลงจอดก็ปล่อยร่มชูชีพออกมา กำจัดโล่ห์กำบังความร้อน และยิงจรวดเพื่อเบรกยานในทิศทางลงจอด โดยทำทุกอย่างเหล่านี้พร้อมๆกันซึ่งในความเป็นจริงมันยังอยู่ห่างจากพื้นผิวดาวอังคารอีกตั้งประมาณ 3.7 กิโลเมตร มันเลยตกลงมาแล้วแตกกระจายเป็นชิ้นๆเมื่อมันสัมผัสกับผิวดาวอังคารจริงๆ
ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่สองแล้วที่ทางองค์การอวกาศแห่งยุโรปพยายามนำยานลงจอดบนดาวอังคารแล้วเกิดข้อผิดพลาดในช่วงนาทีสุดท้าย ก่อนหน้านี้ยาน Beagle 2 ในปี 2003 เคยมาถึงดาวอังคารแล้วครั้งหนึ่ง แต่มันไม่สามารถกางแผงเซลแสงอาทิตย์ออกมาได้เพื่อที่จ่ายไฟให้กับระบบส่งสัญญาณ ยานลำนี้ต่อมาได้ถูกพบเมื่อปี 2015 เมื่อยานอวกาศของ NASA ได้ถ่ายภาพรายละเอียดของตำแหน่งที่เคยคาดว่ายานลำนี้จะลงจอด
เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้สร้างความท้อถอยให้กับทางยุโรปแต่อย่างใด พวกเขายังคงทำงานต่อไปกับโครงการ ExoMars ซึ่งคาดว่าการส่งยานครั้งต่อไปน่าจะเป็นปี 2020 ซึ่งคงน่าจะมีระบบคอมพิวเตอร์ที่จะคอยช่วยคิดคำนวณซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อเอาให้ชัวร์กับกระบวนการลงจอดอีกครั้ง
ที่มา engadget.com