ล่าสุด

แสงถูกบิด (twisted light) อาจจะทำให้การส่งข้อมูลแบบไร้สายที่เร็วกว่าสายไฟเบอร์

แสงถูกบิด (twisted light) อาจจะทำให้การส่งข้อมูลแบบไร้สายที่เร็วกว่าสายไฟเบอร์

แม้ตอนนี้เราจะใช้ระบบการสื่อสารแบบสายไฟเบอร์ออพติดถึงทุกครัวเรือนแล้วก็ตาม ซึ่งการสื่อสารในลักษณะนี้สามารถกระทำได้ที่ความเร็วสูงสุด แต่ยังมีข้อจำกัดอยู่อย่างเดียวนั่นก็คือ การสื่อสารแบบนี้ต้องอาศัยสายสัญญาณไฟเบอร์ออพติคนั่นเอง ทำให้เกิดข้อจำกัดในการสื่อสารว่าจะส่งสัญญาณไปที่ไหน และต้นทุนการติดตั้งสายสัญญาณต่างๆที่ทำให้เกิดข้อจำกัดบางประการอยู๋

ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์อาจจะค้นพบหนทางในการลดข้อจำกัดที่จะต้องใช้สายสัญญาณลงแถมยังทำให้การสื่อสารแบบไร้สายมีความเร็วสูงกว่าสายไฟเบอร์อีกด้วย

นั่นคือพวกเขาค้นพบหนทางในการบิดโฟตอน (โฟตอนคืออนุภาคของแสง) ในรูบแบบที่ไม่เพียงจะส่งสัญญาณได้มากขึ้นในแต่ละรอบของการส่งสัญญาณ แต่ยังสามารถทนทานต่อการรบกวนจากความแปรปรวนของอากาศอีกด้วย

วิธีการคือหากเราส่งสัญญาณแสงผ่านโฮโลแกรมแบบพิเศษ โฟตอนจะได้รับโมเมนตัมเชิงมุมที่จะทำให้โฟตอนสามารถนำสัญญาณได้มากกว่าเลข 0 หรือ 1 ที่เราคุ้นเคย และตราบใดที่เฟสและความเข้มของแสงอยู่ในค่าที่เหมาะสม คุณสามารถส่งสัญญาณแสงนั้นไปในระยะไกลอีกด้วย

ทีมนักวิจัยได้ประสบความสำเร็จในการทดลองส่งสัญญาณในลักษณะดังกล่าวด้วยระยะทางกว่า 1.6 กิโลเมตรในประเทศเยอรมัน เพื่อทดลองในสภาวะแวดล้อมการใช้งานในเมืองซึ่งความแปรปรวนจากอาคารสูงในเชิงทฤษฎีแล้วจะทำให้เกิดภาวะการรบกวนสูงมาก

จะว่าไปแล้วยังต้องมีการทำอะไรอีกมากมายก่อนที่ระบบการสื่อสารไร้สายแบบนี้จะใช้งานได้จริง อย่างเช่นจะให้บริการคนเป็นจำนวนมากๆได้อย่างไร และสัญญาณจะถูกรบกวนจากฝนตกหรือหิมะมากน้อยแค่ไหน แต่ก็ถือว่าน่าตื่นเต้นอย่างยิ่ง

เทคโนโลยีนี้มีข้อจำกัดแค่เรื่องการส่งสัญญาณแสงเท่านั้น แต่มันอาจจะเป็นเครื่องมือสำหรับระบบการส่งสัญญาณในอนาคตที่ช่วงสุดท้ายของการส่งสัญญาณให้แต่ละบ้านเรือนยังต้องใช้สายสัญญาณอยู่

แทนที่ปัจจุบันวิศวกรต้องลากสายไปยังทุกบ้านเรือนหรือสำนักงานเพื่อให้ได้เล่นอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ต่อไปเราอาจจะได้ใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สาย และลากสายเฉพาะที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น

แหล่งข้อมูล University of Glasgow

Advertisment