กล้องอะไรเนี่ย ถ่ายภาพได้ชั่วนิรันด์ โดยใช้พลังงานที่สร้างเอง
กล้องอะไรเนี่ย ถ่ายภาพได้ชั่วนิรันด์ โดยใช้พลังงานที่สร้างเอง
หากคุณเบื่อกับการใช้งานกล้องวิดีโอหรือกล้องดิจิตอลที่ถ่ายได้สักพักแล้วแบตเตอร์รี่หมด ในอนาคตอันใกล้ ท่านไม่ต้องกังวลใจแล้วละครับ เพราะตอนนี้กำลังมีการพัฒนากล้องที่สามารถถ่ายภาพได้ตลอดเวลา ไม่มีวันหยุด โดยไม่ต้องอาศัยแบตเตอร์รี่อีกต่อไป
กล้องต้นแบบที่สร้างพลังงานขึ้นมาใช้เองจากแสงที่ผ่านเลนซ์เข้ามานั้นถูกสร้างขึ้นโดยทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
การทำงานของกล้องธรรมดาทั่วไปนั้นจะอาศัย โฟโต้ไอโอดส์ ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเซลแสงอาทิตย์ (Photovoltaic cell) ที่ใช้กับแผงโซลาเซลล์ก็ทำงานในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คือแทนที่มันจะใช้กระแสที่ได้มาสร้างเป็นภาพขึ้นมา มันจะทำการรวบรวมกระแสที่เกิดขึ้นแล้วส่งต่อไปยังส่วนต่อไปใช้งานตามที่เราพบเห็นกับเซลแสงอาทิตย์นั่นเอง
กระบวนการทั้งสองมีความคล้ายคลึงกันมากจนนักวิจัยของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียสามารถที่จะสร้างเซ็นเซอร์ตัวรับภาพที่สามารถจะทำงานสลับกันไปว่าระหว่างสองกระบวนการดังกล่าวข้างต้น (คือสร้างภาพ และสะสมกระแสส่งต่อไปใช้งาน) ซึ่งพวกเขาอ้างว่าเป็นกล้องตัวแรกที่ทำแบบนี้ได้
“ได้มีการนำเสนอการออกแบบตัวตรวจจับภาพออกมาหลากหลายแบบแล้วในอดีตที่สามารถทำงานในลักษณะที่ว่านี้ได้ อย่างไรก็ตามตัวต้นแบบของเราคือกล้องวิดีโอตัวแรกที่ถ่ายภาพได้ด้วยตัวมันเอง โดยไม่ต้องการพลังงานจากภายนอก” หัวหน้าทีมวิจัยกล่าว
ทีมนักวิจัยได้หาชิ้นส่วนต่างๆที่ผลิตจำหน่ายโดยทั่วไปมาสร้างตัวรับภาพขนาด 30 x 40 พิกเซล ซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องที่ทำมาจากเครื่องพิมพ์สามมิติ เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์เพื่อบันทึกภาพ ตัวเซ็นเซอร์ก็จะทำหน้าที่บันทึกภาพที่เกิดขึ้นก่อนแล้วเปลี่ยนมาสู่โหมดการสะสมพลังงานเพื่อจะชาร์ชระบบจ่ายพลังงานซึ่งมีขนาดเล็กมาก
พลังงานที่ได้นั้นในทางทฤษฏีแล้วสามารถใช้ชาร์ชได้แม้กระทั้งโทรศัทพ์หรือนาฬิกาอัจฉริยะก็ได้
ตัวอย่างภาพที่ได้จากการบันทึกของกล้องนี้
แม้ภาพที่ได้มานั้นตอนนี้อาจจะยังไม่น่าประทับใจนัก แต่หากมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้อย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะสามารถนำไปใช้งานได้อย่างแพร่หลายในวงการกล้องวงจรปิด ระบบกล้องในโรงงาน การเกษตร และอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ใช่แต่เฉพาะในวงการกล้องเท่านั้น
ถึงวันนั้นกล้องดิจิตอลแบบ DSLR ของท่านก็ไม่จำเป็นต้องงอแบตเตอร์รี่อีกต่อไป
ภาพข่าวจาก techradar.com
Leave a comment
You must be logged in to post a comment.