ล่าสุด

5 สิ่งควรรู้ก่อนเลือกซื้อโดรน

5 สิ่งควรรู้ก่อนเลือกซื้อโดรน

เดี๋ยวนี้ใครๆก็อยากเป็นเจ้าของโดรนซักเครื่องนึง ไม่ว่าจะแพงหรือถูกถ้ามีเล่นซักเครื่องก็จะรู้สึกเทห์น่าดู ดังนั้นก่อนที่คุณจะตัดสินใจซื้อโดรนมาเล่นซักเครื่องคุณควรจะรู้ถึงประเด็น 5 ข้อต่อไปนี้

ก่อนที่จะไปถึงประเด็น 5 ข้อนั้น เราควรจะตระหนักว่าในช่วงสองสามปีมานี้ ยอดขายโดรนมีจำนวนสูงมาก ทำให้ต้องมีการนำออกไปบินในสถานที่ต่างๆ นั่นหมายถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่ออากาศยานต่างๆ และต่อบ้านเรือนผู้คนในละแวกนั้นๆ ดังนั้นก่อนซื้อหาท่านควรจะศึกษาข้อกฏหมายก่อนว่าท่านจะซื้อโดรนประเภทใด น้ำหนักเท่าไหร่ และต้องลงทะเบียนขออนุญาตบินอะไรหรือไม่

เอาละครับเรากลับมาว่ากันถึง 5 ประเด็นที่ควรจะรู้ไว้ก่อนที่ท่านจะซื้อโดรนมาเล่น

1. โดรนไม่ได้บินง่ายทุกตัว

ถ้าคุณอยากจะซื้อโดรน คุณควรจะรู้ไว้ก่อนว่า ไม่ว่าวัตถุนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม หากมันบินได้แล้วละก็จะเป็นการยากในการควบคุมมัน เครื่องยนต์สี่ใบพัดหากเรานำมามอเตอร์มาต่อกับใบพัดแล้วให้มันหมุนเองตามที่เห็น จะพบว่ามันเป็นการยากมากที่จะบินขึ้นได้ เพราะจะเกิดภาวะไม่เอียงด้านใดด้านหนึ่งมันก็อาจจะแค่พาวะยกตัวแล้วตกลงมา

สิ่งทำให้มันบินได้นั่นก็เพราะระบบคอมพิวเตอร์ข้างในซึ่งเรียกว่า flight controller โดรนแต่ละชนิดจะบินต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่ามีการตั้งค่าระบบการควบคุมการบินอย่างไร บางโครนถูกออกแบบให้วิ่งได้คล่องแคล่ว แต่บางแบบถูกออกแบบให้บินแบบมีเสถียรภาพสูงหรือนิ่งๆ

เมื่อมองในประเด็นของการบินและระดับทักษะในการควบคุม มันจะมาเป็นกราฟระหว่างราคาและความง่ายในการบิน ปกติแล้วหากมองที่รถบังคับวิทยุ หรือเฮลิคอปเตอร์บังคับวิทยุ ยิ่งราคาสูงกลับยิ่งยากที่จะบินเนื่องจากมีตัวแปรต่างๆให้เล่นเพียบ

แต่กับโดรนแล้วเป็นเรื่องตรงกันข้าม โดยจะเห็นว่ายิ่งโดรนราคาแพง จะยิ่งบินได้ง่ายขึ้นเนื่องจากมีระบบช่วยบินต่างๆมากมายทั้งเซ็นเซอร์ต่างๆ และฟังก์ชั่นต่างๆในตัวเครื่องที่มีมาให้

ปัจจุบันโดรนที่บินไม่ยากก็คงเป็น Phantom 3 Inspire 1 Q500 4K และ 3DR Solo เป็นตน แต่โดรนราคาถูกกว่าอย่าง Hubsan X4 หรือ Syma XSC นั้นกลับบินยากกว่า

2. โดรนไม่ได้พร้อมบินทุกตัว

เมื่อเวลาคุณซื้อโดรน จะมีการบอกจากคนขายว่าโดรนนั้นๆเป็นแบบ RTF BNF หรือ ARF เป็นต้น เรามาดูกันนะครับว่าแต่ละตัวหมายถึงอะไร

– RTF จะหมายถึง Ready To Fly หรือโดรนพร้อมบินนั่นเอง ปกติแล้วโดรนแบบนี้พอซื้อมาก็ไม่ต้องมีการประกอบชิ้นส่วนหรือตั้งค่าอะไรมากมาย คุณทำเพียงแค่ชาร์ชแบตให้เต็ม ใส่ใบพัดเข้าไป หรือการเชื่อมโยงสัญญาณระหว่างตัวคอนโทรลเลอร์กับตัวโดรนเท่านั้น

– BNF หรือ Bine-And-Fly คือการเชื่อมโยงแล้วบิน มักจะเป็นโดรนที่มีขนาดเล็กลงมาหน่อย โดยจะมีการประกอบเสร็จเรียบร้อยมาจากโรงงานแล้ว แต่จะไม่มีตัวคอนโทรลเลอร์มาให้ การซื้อเครื่องโหมดนี้มา คุณจะต้องเอามาใช้ร่วมกับตัวรีโมทที่มีอยู่แล้ว หรือต้องซื้อแยกต่างหาก คุณจะต้องระลึกไว้เสมอว่า แม้ตัวเครื่องโดรน และตัวรีโมทจะใช้ความถี่เดียวกันก็ใช่ว่ามันจะทำงานด้วยกันได้ ในอดีตยุคอนาลอก หากตัวรีโมทและตัวรับทำงานความถี่เดียวกัน มันมักจะทำงานร่วมกันได้ แต่ด้วยการสื่อสารระบบดิจิตอลระบบต่างๆก็จะเปลี่ยนไป แม้ทั้งตัวรับตัวส่งจะอยู่ช่องสัญญาณเดียวกัน แต่ทั้งสองชิ้นจะต้องใช้รูปแบบการสื่อสารเดียวกัน ดังนั้นก่อนซื้อต้องตรวจสอบว่ามันจะเข้ากันได้หรือไม่

– ARF หรือ Almost-ready-to-fly หรือเกือบจะพร้อมบินนั่นเอง โดรนแบบนี้มักจะมาในรูปของชุดคิท โดยจะไม่มีตัวรับส่งสัญญาณมาให้ และอาจจะต้องมีการประกอบเครื่องเองบางส่วน โดรนแบบ ARF อาจจะไม่มีมอเตอร์ หรือแม้แต่ตัวควบคุมการบิน หรือแบตเตอร์รี่มาให้ เห็นกล่องเขียนข้อความแบบนี้ต้องอ่านให้ดีๆ ว่ามีอะไรให้มาบ้าง

3. ต้องศึกษาข้อมูลก่อนล่วงหน้าให้มากและลงทุนกับชิ้นส่วนสำคัญ

หากคุณซื้อโดรนมาในราคา 2,000 บาท คุณก็คงข้ามหัวข้อนี้ไปได้เลย แต่หากคุณต้องจ่ายเงินซื้อโดรนหลายหมื่นบาท หรือหลักแสน อาจจะต้องลงทุนอย่างชาญฉลาดนิดนึง

นี่คือหัวข้อที่ผมพลาดไป หรือไม่ได้ทำ ตอนที่ซื้อโดรนตัวแรก ถ้าผมทำสิ่งเหล่านี้ก่อนมันคงจะช่วยผมได้เยอะเลยทีเดียว

– ลงทุนซื้อตัวคอนโทรลเลอร์ตัวดีๆ การหาซื้อตัวรีโมทดีๆนั้นถือเป็นการลงทุนที่ดี เพราะตัวคอนโทรลเลอร์จะไม่ล้าสมัยเร็ว ดังนั้นหากคุณคิดว่าจะเล่นซักระยะหนึ่ง คุณอาจจะเลือกหาตัวคอนโทรลเลอร์ที่น่าจะอยู่ในตลาดนานๆ ผมรู้จักบางคนใช้ตัวคอนโทรลเลอร์ตัวเดิมมาเป็นสิบปีแล้ว เนื่องจากความจริงแล้วส่วนที่ส่งสัญญาณวิทยุออกไปนั้น สามารถเปลี่ยนได้ให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ส่วนอื่นๆจะยังคงเดิมไม่ค่อยเปลี่ยน

– ซื้อที่ชาร์ชอย่างดี ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ทุกคนมองข้ามไป แต่มันก็เหมือนกับตัวรีโมทนั่นแหละครับ เพราะว่าเครื่องชาร์ชดีๆจะอยู่กับคุณได้นานหลายปี เครื่องชาร์ชราคาถูกที่มากับเครื่องพร้อมบินนั้นมักจะชาร์ชได้ช้า และมักจะไม่เสถียร และมักจะชาร์ชแบตที่ซื้อมาพร้อมกับมันเท่านั้น ดังนั้นวันใดวันนึงคุณซื้อโดรนตัวใหญ่กว่าคุณก็ต้องการที่ชาร์ชตัวใหญ่กว่าเดิม ยิ่งที่ชาร์ชยิ่งแพง มันจะยิ่งชาร์ชแบตได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบลิเธียม หรือตะกั่วกรด อีกทั้งยังสามารถซื้อตัวอแดปเตอร์ที่ชาร์ชแบตพร้อมกันหลายๆตัวได้ด้วย

– ลงทุนค้นคว้าหาข้อมูล แน่นอนว่าการซื้อโดรนตัวแรกนั้นน่าตื่นเต้นยิ่งนัก แต่ก็ไม่ควรรีบ ยิ่งคุณค้นคว้าหาข้อมูลมากเท่าไหร่คุณจะยิ่งรู้มากขึ้นเท่านั้น และคุณจะเริ่มเข้าใจความแตกต่างของชิ้นส่วนโตรนต่างๆที่มีขายอยู่ในตลาด ทำให้เข้าใจว่าชิ้นส่วนไหนดีกว่าอันไหน มันจะทำให้คุณประหยัดเงินและเวลาในระยะยาวเนื่องจากคุณไม่ซื้อของก๊องแก๊งหรือตัดสินใจผิดพลาด

มีสถานที่ให้เลือกซื้อมากมาย

แหล่งซื้อโดรนมีให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะซื้อทางเน็ต หรือร้านใกล้บ้าน หรือจะซื้อจากจีนโดยตรงเลยก็ยังได้ แค่ค้นใน google ว่าขายโดรน ก็จะพบว่ามีให้เลือกมากมาย หลายรายขายมานานแล้ว มีบริการแม้กระทั่งเก็บเงินปลายทาง

ดังนั้นก่อนซื้อตรวจสอบประวัติการบริการ ราคา และวิธีการส่งของได้จากหลายๆช่องทางไม่ว่าตามเว็บบอร์ดต่างๆ หรือแม้แต่พันทิพ

5. สมัครเข้ากลุ่มคนเล่นโดรน

อยากเล่นโดรนให้สนุกต้องหากลุ่มคนที่ชอบเล่นของในลักษณะเดียวกัน จะเห็นได้ว่ามีเว็บบอร์ด กลุ่มเฟสบุ้คให้เลือกมากมาย บางกลุ่มก็เป็นเรื่องกว้างๆ บางกลุ่มก็เฉพาะเจาะจงลงไปมาก ไม่จำเป็นต้องสมัครเข้าทุกกลุ่ม แค่ตามไปอ่านหาความรู้แล้วชอบอันไหนก็สมัครอันนั้นพอ

เมื่อเข้าไปแล้วอยากจะตั้งคำถามก็ต้องเข้าไปในห้องที่เหมาะสม ไม่งั้นคุณอาจจะไม่ได้รับคำตอบที่ต้องการ บางคนอาจจะดูถูกคุณหากคำถามคุณอยู่ผิดที่ผิดทาง ดังนั้นก่อนถามอะไรออกไปแนะนำว่าให้อ่านไปเรื่อยๆก่อน จับทางให้ถูกแล้วค่อยถามออกไป

สรุป

หวังว่าแนวทางในการซื้อหาเป็นเจ้าของโดรนนี้น่าจะเป็นประโยชน์หากคุณคิดจะเล่นนานๆ แต่หากคุณแค่อยากซื้อมาลองเล่นสนุกๆ ชั่วครั้งชั่วคราว ก็ไม่ต้องลังเลครับ ซื้อแล้วมาเล่นเลยไม่ต้องคิดไรมากก็ได้ครับผม

Advertisment

Leave a comment