ล่าสุด

หากเหลือหญิงชายเพียงสองคนบนโลก จำนวนประชากรจะกลับมาเหมือนเดิมได้หรือไม่

หากเหลือหญิงชายเพียงสองคนบนโลก จำนวนประชากรจะกลับมาเหมือนเดิมได้หรือไม่

เรามักจะพบเห็นในภาพยนต์อยู่บ่อยๆ ที่เมื่อเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้น ทำให้เหลือมนุษย์คนสุดท้าย หรือสองคนสุดท้ายบนโลก ถ้าหากเรื่องนี้เป็นจริงขึ้นมา เราลองมาคิดดูกันเล่นๆว่าจะต้องให้เหลือมนุษย์บนโลกกี่คนที่จะทำให้เผ่าพันธ์ของเรายังอยู่ต่อไปได้

ตัวอย่างจากสัตว์

เรามาดูข้อเท็จจริงอยู่เรื่องหนึ่ง ผู้รุกรานมาทางเรือ และในชั่วเวลาแค่ 2 ปีผู้ที่อยู่เดิมตายเกลี้ยง อืมจริงๆก็เกือบหมด เรื่องราวนี้เกิดบนเกาะเล็กๆราวๆ 600 กิโลเมตรทางตะวันออกของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นเกาะที่โผล่มาจากทะเลที่ประกอบไปด้วยหน้าผาและป่าเขียว

มีอยู่สองชีวิตที่สามารถหนีไปหลบซ่อนตัวอยู่ได้ และ 9 ปีต่อมาก็ออกลูกออกหลานเหลนโหลนมาถึง 9,000 ตัว เรื่องราวเหล่านี้ไม่ใช่มนุษย์แน่นอนเพราะใช้เวลาแค่ 9 ปีเท่านั้น แต่สองชีวิตที่รอดจากการทำลายล้างกลับเป็นสัตว์ประเภทแมลงขนาดเท่ากำปั้นมนุษย์

ก่อนหน้านี้มาการคาดกันว่ามันได้สูญพันธ์ไปแล้วหลังจากหนูดำขึ้นมาบนเกาะในราวปี 1918 แต่ 83 ปีให้หลังมีการพบว่ามันยังอยู่กันได้ที่หน้าผาสูง ซึ่งการอยู่รอดของสปีชีส์นี้ก็ต้องขอบคุณนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องโรยตัวลงเป็นร้อยเมตรจากหน้าผาสูงเพื่อที่จะได้เจอที่หลบซ่อนตัวของมันเมื่อปี 2003 ซึ่งสัตว์ทั้งสองตัวมีการตั้งชื่อว่า Adam และ Eve และได้ถูกส่งไปเข้าโครงการขยายพันธ์ในสวนสัตว์

ตัวเมียจะวางใข่ 10 ฟองในทุกๆ 10 วัน และไม่ต้องการตัวผู้ในการขยายพันธ์ แต่การจะขยายพันธ์มนุษย์เพื่อให้มีประชากรเต็มโลกอีกครั้งนั้นคงไม่ง่ายขนาดนี้ เราจะทำได้หรือไม่ และจะต้องใช้เวลาเท่าไหร่กันแน่ เรื่องนี้คงต้องคุยกันยาวเพราะเป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ล้วนๆ

ถ้าโลกเหลือมนุษย์ชายหญิงเพียงคู่เดียว

ลองสมมุติเหตุการณ์ในอนาคตอีก 200 ปี ว่าหากเกิดเหตุการณ์เลวร้ายถึงขั้นทำให้มนุษย์ชาติสูญพันธ์ แล้วเหลือแค่เพียง 2 คนชายหญิงที่รอดมาได้ ดังนั้นประชากรรุ่นแรกก็ต้องเป็นพี่กับน้องเท่านั้นเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้

การแต่งงานกันในเครือญาติถือเป็นสิ่งต้องห้ามของมนุษย์ไม่ว่าจะเชื้อชาติไหนหรือเผ่าพันธ์ไหน ต้องห้ามเทียบเท่ากับการฆาตกรรมพ่อแม่ของตัวเองนั่นแหละ ซึ่งไม่ใช่แค่ไม่เหมาะสมแต่ยังเป็นอันตรายต่อสังคมอีกด้วย

จากการศึกษาเด็กๆที่คลอดออกมาในช่วงปี ค.ศ. 1933 และ 1970 ในประเทศเช็คโกสโลวาเกียนั้น พบว่าเกือบ 40% ของเด็กที่พ่อแม่มีความเป็นเครือญาติในระดับที่ 1 (พี่กับน้อง) จะมีปัญหาเรื่องพิกลพิการออกมาซึ่ง 14% ในกลุ่มนี้ต่อมาก็เสียชีวิตลง

เหตุผลที่ว่าการแต่งงานกันในเครือญาตินั้นเสี่ยงต่อชีวิตสูงนั้นเราก็คงต้องไปดูลึกลงไปถึงรายละเอียดของยีน นั่นคือเราแต่ละคนจะมียีนมาจากทั้งสองฝั่งคือครึ่งหนึ่งจากฝั่งพ่อและครึ่งหนึ่งจากฝั่งแม่ แต่ความผิดปกติในยินบางตัวอาจจะไม่ปรากฏผลออกมายกเว้นจะมียืนด้อยสองตัวมารวมกัน

โรคทางพันธุกรรมส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติทางยีนที่รับมาจากฝั่งพ่อและแม่และต่างก็เป็นยีนด้อยทั้งคู่ ซึ่งการวิวัฒนาการจะเกิดขึ้นได้คือยีนจะต้องเปลี่ยนไป แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นบางครั้งในลูกรุ่นแรกๆจะยังไม่ปรากฏ ว่ากันตามข้อเท็จจริงแล้วเราแต่ละคนโดยเฉลี่ยแล้วจะมียีนอันตรายอยู่ประมาณคนละ 1 ถึง 2 ยีนด้วยกัน

เมื่อคู่แต่งงานนั้นเป็นเครือญาติกันความเสี่ยงก็เลยมีมากที่ยืนด้อยเหล่านั้นจะมาเจอกันพอดี แล้วยิ่งเป็นรุ่นที่สองความเสี่ยงก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น

ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ก็คือประชากรบนเกาะๆหนึ่งในย่านแปซิฟิกตะวันตก เนื่องจากประชากรทั้งเก่านั้นมาจากผู้รอดชีวิต 20 คนจากมรสุมที่พัดกระหน่ำเกาะไปเมื่อราว 300 ปีก่อน ด้วยความหลากหลายของยีนที่มีน้อยทำให้ตอนนี้ประชากรราว 1 ใน 10 มีปัญหาตาบอดสี

และหากผู้รอดชีวิตเหล่านี้มีบุตรเป็นจำนวนมากอย่างน้อยก็จะมีโอกาสเพิ่มขึ้นที่บุตรจะสุขภาพดี แต่หากการแต่งงานกันในกลุ่มแล้วมีบุตรหมุนเวียนไปอีก 100 ปีข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น ไม่ต้องดูไปไกล แค่ไปดูราชวงศ์ในยุโรปแค่เพียงการแต่งงานเฉพาะในกลุ่มญาติอย่างลูกพี่ลูกน้องหลานและลุงในช่วงแค่ 200 ปี ถือเป็นตัวอย่างการทดลองทางธรรมชาติที่น่าสนใจนั่นคือราชวง Spanish Habsburgs

Charles II ประสูติออกมาพิการทั้งร่างกายปละจิตใจ องค์กษัตร์เองไม่สามารถเดินได้จนกระทั้งอายุ 8 พรรษา และเมื่อโตขึ้นก็ไม่สามารถมีโอรสธิดาได้อีกซึ่งก็หมายถึงการหายไปของราชวงศ์นั้น

ในปี 2009 ทีมนักวิจัยชาวสเปนได้เปิดเผยว่าเหตุใดถึงเกิดภาวะนี้ขึ้น นั่นเพราะตัวเลขแห่งการแต่งงานกันเองในหมู่เครือญาตินั้นสูงมาก สัดส่วนของยีนผิดปกติที่ถูกถ่ายทอดมานั้นสูงเกินไป

การวิเคราะห์ถึงความใกล้ชิดของยีนนั้นถูกนำมาใช้โดยนักนิเวศวิทยาในการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากยีนที่ใกล้เคียงกันในสัตว์ที่ใกล้สูญพันธ์ หากประชากรมีจำนวนน้อยลงอีกไม่นานประชากรแต่ละตัวก็จะมียีนที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ยี่งมีความใกล้ชิดกันมากก็ยิ่งเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติกันมากขึ้น

ตัวอย่างหนึ่งจาก Otago University ซึ่งศีกษานกยักษ์ชนิดหนึ่งในนิวซีแลนด์ ซึ่งพบว่าตอนนี้บนโลกนี้มีเหลืออยู่เพียง 125 ตัวเท่านั้น ซึ่งสิ่งที่น่ากังวลก็คือผลจากการผสมพันธ์กันเองนั้นจะเพิ่มสัดส่วนใข่ที่ไม่สามารถฟักออกมาเป็นตัวได้จาก 10% มาเป็น 40% แล้ว แม้จะมีอาหารเพียงพอและภัยจากผู้ล่านั้นไม่มีเลย แต่สัตว์ชนิดนี้อาจจะต้องสูญพันธ์ในที่สุด

ประเด็นอีกอย่างหนึ่งของที่จะช่วยลดความเสี่ยงในระยะยาวก็คือการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ นั่นคือในกลุ่มประชากรจะต้องมีความหลากหลายทางพันธุกรรมเพื่อให้สามารถวิวัฒนาการได้ ยิ่งกลุ่มประชากรเล็กลงเท่าไหร่ในช่วงของการวิวัฒนาการอาจจะมียีนประหลาดโผล่ออกมาได้ เราอาจจะเห็นมนุษย์ที่ลักษณะหน้าตาที่ดูประหลาดไปก็เป็นได้ หรือกลายเป็นอีกสปีชีส์นึงไปเลยทีเดียว

ดังนั้นความแตกต่างเท่าไหร่ดีจึงจะเหมาะสม ซึ่งเป็นตัวเลขที่ถกเถึยงกันมานาน โดยตัวเลขทั่วๆไปคือคุณต้องมีประชากรราว 50 ในการที่จะหลีกเลี่ยงการมียีนใกล้เคียงกันแบบญาติ และต้องการประชากรราว 500 ในการที่จะให้สามารถวิวัฒนาการได้ ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบันและอาจจะมีการเพิ่มให้เป็น 500 – 5000 เพี่อให้ครอบคลุมการหายไปแบบบังเอิญเวลายีนถูกส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น

แต่ธรรมชาติก็อาจจะสร้างอะไรขึ้นมาก็ได้ บรรพบุรุษของเราแค่จำนวน 1,000 คนคงไม่สามารถสร้างประชากรให้อยู่ได้ถึงล้านปี และเมื่อราวๆ 50,000 ถึง 100,000 ปีที่แล้วเรามีเหตุการณ์ที่บรรพบุรุษต้องย้ายออกจากแอฟริกาซึ่งตอนนั้นความแตกต่างทางพันธุกรรมคงน้อยมาก

การศึกษาเมื่อปี 2012 ถึงความแตกต่างทางพันธุกรรมของลิงชิมแปนซีในกลุ่มที่อยู่ใกล้ๆกันพบว่ามีความหลากหลายทางพันธุกรรมในกลุ่มเดียวกันนั้นมากกว่าความแตกต่างทางพันธุกรรมของคนทั้งโลกซะอีก

การมองกลับไปยังบรรพบุรุษของเราอาจจะได้คำตอบที่ชัดเจนกว่ามาก โดยนักวิทยาศาสตร์ท่านนึงได้ทดลองสร้างแบบจำลองถึงจำนวนประชากรที่น้อยสุดเพียง 160 คนเท่านั้น โดยเขาแนะนำว่าให้เริ่มจากคู่รักวัยหนุ่มสาวแล้วคัดกรองยีนผิดปกติออกมา ซึ่งวิธีนี้การเดินทางไปในห้วงอวกาศอาจทำให้ประชากรเหล่านี้อยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ซัก 200 ปีก่อนที่จะหันหน้ากลับมายังโลกอีกครั้ง

กลับมายังคำถามที่หากว่าเหลือเพียงชายและหญิงหนึ่งคนบนโลก จริงๆแล้วก็พูดได้ยาก แม้ผลลัพธ์พอจะคาดเดาได้ว่าประชากรมนุษย์คงอยู่รอดได้ไม่นานเนื่องจากแต่งงานกันเองในเครือญาติ แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ เราเห็นได้บ่อยๆที่สัตว์ที่เกือบจะสูญพันธ์กลับมามีประชากรมากเหมือนเดิม

หากภาวะการทำลายล้างไม่ถึงกับทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไปมาก ประชากรที่เหลืออยู่นั้นจะกลับมาเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ชุมชนหนึ่งในอเมริกาเหนือซึ่งแต่งงานกันเองในอัตรสูงมากกลับมีการเติบโตของประชากรเพิ่มขึ้นอย่างเหลือเชื่อ การเติมโตของประชากรเพิ่มเป็นสองเท่าในทุกๆ 17 ปี แม้จะยากก็จริงแต่ผู้หญิงแต่ละคนมีลูกถึงแปดคน หากเทียบกับการทำให้ประชากรเพิ่มเป็น 7 พันล้านคนเหมือนตอนนี้ จะใช้เวลาเพียง 556 ปีเท่านั้น

เรียบเรียงจาก bbc.com

Advertisment