ซ่อม DJI Phantom4 แกะฝาซ่อมเอง ทำอย่างไร
ซ่อม DJI Phantom4 แกะฝาซ่อมเอง ทำอย่างไร
หลังจาก DJI Phantom 4 เปิดตัวกันอย่างคึกคักในบ้านเรา ด้วยราคาที่ยังคงเกินครึ่งแสนอยู่ แม้จะมีระบบหลบหลีกสิ่งกีดขวางอยู่ก็ตาม แต่เนื่องจากระบบนี้ทำงานด้วยการประมวลภาพมากกว่าที่จะเป็นเรดาห์ ทำให้ใช้ได้เฉพาะกลางวันเท่านั้น และไม่ได้หลบหลีกได้รอบทิศทาง มันทำงานเฉพาะการมุ่งไปข้างหน้าเท่านั้น
ดังนั้นความผิดพลาดก็อาจจะเกิดขึ้นได้ แล้วส่งผลให้ DJI Phantom 4 ราคาแพง ชนต้นไม้ หรือดิ่งกลางอากาศ ผลที่ได้อาจจะตั้งแต่บาดเจ็บเล็กน้อยจนถึงทุพลภาพสิ้นเชิงถาวร รอเรียกประกันอย่างเดียว
แต่บางครั้งแผลเล็กๆน้อยๆ จะหาร้านซ่อมใกล้บ้านก็ยาก จะส่งทางไปรษณีย์ก็กลัวจะบอบช้ำจากการขนส่ง แถมนานกว่าจะรู้ผล ดีไม่ดีร้านซ่อมมีการหมกเม็ดเสียน้อยบอกเสียมากพาลให้เจ็บใจเข้าไปอีก คราวนี้จะซ่อมเอง ก็เกรงว่าจะทำให้เสียหาย บทความนี้จะขอแนะนำเบี้องต้นในการเปิดเครื่องตรวจสอบความเสียหาย หรืออาจจะถึงขั้นสั่งอะไหล่มาซ่อมเองได้ สำหรับท่านที่ต้องการอะไหล่ หรือว่าจะซื้อใหม่ทั้งเครื่อง สามารถตรวจสอบราคาได้ที่ร้านนี้ครับ Toon-Ocean.com ที่นี่เขาขาย dji phantom 4 ราคา ไม่แพง ว่าแล้วก็ติดตามกันเลยนะครับ
เปิดฝา ซ่อม Phantom 4
ตัวอย่างกรณีนี้ Phantom 4 ลำนี้บินตกมา จะเห็นได้ว่าตัวกระดองหรือในที่นี้คือบริเวณฝาด้านบนได้รับความเสียหาย มีช่องเปิดออกมา ลักษณะแบบนี้การบินจะไม่เสถียร และเสียหายเฉพาะกระดอง การซ่อม Phantom 4 ลำนี้เองน่าจะประหยัดค่าใช้จ่ายและรวดเร็วที่สุด
ภาพด้านบนแสดงให้เห็นถึงการเปิดออกของฝาด้านบนของบริเวณส่วนหน้าของ DJI Phantom 4 ซึ่งน่าจะเกิดจากการกระแทกอย่างรุนแรง แล้วทำให้ฝาครอบพลาสติกเกิดการเปลี่ยนสภาพ โผล่เป็นช่องโหว่ขึ้นมา รวมทั้งตัวยึดที่เสียรูปทรงและหลุดออกมา
ส่วนความเสียหายด้านหลังนั้นแม้จะดูว่าเล็กน้อย แต่บ่งบอกถึงการหลุดออกมาของคลิปยึด และฝาบนของเครื่องเสียรูป ซึ่งความเสียหายทั้งด้านหน้าและด้านหลังในลักษณะนี้ก็คงค้องเปลี่ยนฝาบน รวมทั้งถือโอกาสตรวจสอบความเสียหายไปในตัว
แกะตัวกล้อง
การเริ่มต้นแยกชิ้นส่วนนั้นก็จะเริ่มจากการแกะตัวกล้องด้านล่างก่อน โดยการวาง Phantom 4 ให้หงายขึ้นแล้วเล็งไปยังบริเวณด้านใต้กล้องแล้วขันน็อตทั้งสี่มุมซึ่งจะเห็นตำแหน่งน็อตอย่างชัดเจน
เมื่อขันน็อตออกมาแล้วให้ค่อยๆงัดกรอบที่ติดตัวกล้องออกมา อย่าเพิ่งดึงออกมาแรงๆเนื่องจากมีสายแพร์เชื่อมต่อระหว่างสองชุดนี้อยู่
สายแพร์ดังกล่าวมีจำนวน 2 ชุด ให้ลองฝึกฝนวิธีการแกะสายแพร์ออกมา บางสายจะแน่นมาก การงัดแรงๆ อาจจะทำให้ตัวคอนเน็คเคอร์เสียหาย สายแพร์ยาวๆจึงควรค่อยๆงัดในหลายๆตำแหน่งแล้ววนไปมาจนกว่าสายจะหลุดออกมา
เมื่อแกะสายแพร์ออกมาแล้ว ก็จะได้ส่วนของตัวกล้องพร้อมฐานที่แยกชิ้นออกมาได้อย่างเอกเทศตามภาพด้านบน
กลับไปยังตัวโดรนเพื่อจัดการกับอีกส่วนหนึงของฐานกล้อง โดยจะต้องมีการถอดน็อตของแถบเล็กๆที่วงไว้ออกเพื่อที่จะได้ถอดสายสัญญาณเส้นให่ญ่ออกมาจำนวน 4 เส้น
เมื่อถอดแผ่นบางๆซึ่งเป็นฝาครอบสายสัญญาณออกแล้ว จะเห็นสายสัญญาณจำนวน 4 เส้น ที่เป็นลักษณะของคอนเนคเตอร์ที่ถอดออกได้
เราสามารถใช้มือดึงสายสัญญาณเหล่านี้ออกมาทีละเส้น ทั้งนี้ก่อนถอดสายสัญญาณควรถ่ายรูปไว้ก่อนเพื่อไว้เตือนความจำถึงตำแหน่งของสายสัญญาณต่างๆ โดยสายสัญญาณมี 4 สี คือ ดำ ขาว เทา และเทาอ่อน
เมื่อถอดสายสัญญาณออกมาแล้ว ก็สามารถคลายน็อตเพื่อที่จะถอดชิ้นนี้ออกมา จะเห็นได้ว่าน็อตตัวหนึ่งนั้นอยู่ใต้บริเวณสายสัญญาณเหล่านี้นั่นเอง เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการในการถอดอุปกรณ์ชุดกล้องออกมา
แขนยึดมอเตอร์
มาในฝั่งของมอเตอร์ทั้งสี่ตัว ในขั้นตอนนี้ยังคงให้ DJI Phantom 4 หงายท้องอยู่เช่นเดิม จากนั้นก็เริ่มแงะแผ่นกระจายแสงไฟด้านใต้มอเตอร์ โดยการใช้ไขควงค่อยๆแงะตรงบริเวณขอบออกมา
เมื่อถอดไฟออกไปแล้ว จะยังไม่เจอตัวน๊อตยึดมอเตอร์ทันที แต่จะมีแผ่นกระดาษบางๆ รองอยู่อีกชั้นหนึ่งก่อน ก็ให้ใช้วิธีการแกะแผ่นบางๆนี้ออกมาด้วยไขควงเล็กๆ
เมื่อนำแผ่นกระดาษนั้นออกมาแล้ว จะเผยให้เห็นถึงน็อตยึดมอเตอร์ทั้งหมดสามตัวด้วยกัน เราสามารถใช้ไขควงในการคลายน็อตทั้งสามตัวออกมาได้เลย
กระบวนการนี้ถือเป็นการถอดมอเตอร์ของ DJI Phantom นั่นเอง การขันออกหรือเข้าควรจะทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้หัวน็อตเสียหาย ไม่งั้นอาจจะมีปัญหาในการยีดจับตัวมอเตอร์ให้มั่นคงได้
เนื่องจากมอเตอร์มีทั้งหมด 4 ตัว เราก็สามารถถอดออกมาได้ทั้งหมด โดยควรหาภาชนะในการจัดเก็บชิ้นส่วนต่างๆให้เหมาะสม จะได้ไม่หล่นหาย หรือปะปนกับชิ้นส่วนอื่นๆแล้วทำให้สับสนได้
ขาตั้ง Landing Gear
ในส่วนของ Landing Gear หรือขาตั้งของเครื่องนั้น สามารถถอดออกได้เช่นกัน โดยการแกะฝาตรงบริเวณขาออกมา ซึ่งจะเผยโฉมให้เห็นน้อตที่ยึดขากับตัวเครื่องเอาไว้
เราสามารถคลายน็อตแต่ละตัวเพื่อถอดขาออกได้ แต่ขั้นตอนนี้อย่าเพิ่งคลายน๊อตจนสุด
เปิดฝาล่างของเครื่อง
มาถึงขั้นต่อมาคือการเปิดฝาล่างของเครื่อง ในที่นี้หากเครื่องบินอยู่ ก็จะหมายถึงส่วนล่างของเครื่องนั่นเอง
มาดูที่ตัวเครื่อง DJI Phantom 4 ในขั้นตอนนี้เราจะทำการเปิดฝาด้านล่างของตัวเครื่องออก (เครื่องยังวางหงายท้องอยู่เหมือนเดิม) นั่นคือส่วนของขาจอดเครื่องยังชี้ฟ้าอยู่
ซึ่งในกระบวนการเปิดฝาด้านบนนั้น ก็ต้องใช้ความระมัดระวังเช่นกัน โดยหลังจากงัดคลิปยึดตามตำแหน่งต่างๆแล้ว เราจะยังไม่สามารถแยกฝาล่างออกจากตัวเครื่องได้ทันที จะต้องมีการถอดสายแพร์สามชุดออกจากกันก่อน โดยสาย 3 ชุดนี้จะอยู่บริเวณด้านข้างของลำ
เมื่อทำการแกะสายแพร์ที่รั้งทั้งสองส่วนเอาไว้ด้วยกันออก หน้าตาของเครื่องที่เปิดฝาออกแล้วก็จะเป็นดังภาพด้านบน เราก็สามารถสังเกตดูสภาพอุปกรณ์ต่างๆในเครื่องว่าได้รับความเสียหาย หรือมีการเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งหรือไม่
ภาพด้านบนแสดงตำแหน่ง top view ของเครื่อง ซึ่งจริงๆแล้วเป็นด้านก้นของเครื่องหากเทียบกับตำแหน่งของใบพัด จะเห็นอุปกรณ์ต่างๆ อัดแน่นอยู่ภายใน พร้อมกับกล้องสองตัวที่ Phantom 4 ใช้ในการอ่านภาพพื้นผิวด้านล่าง
ด้านข้างฝั่งหนึ่งของเครื่องที่เปิดฝาออกมาแล้ว
บริเวณด้านหลังเครื่อง จะเห็นช่องโล่งๆด้านล่างซึ่งเป็นช่องที่ใช้สำหรับการใส่แบตเตอร์รี่
ด้านข้างอีกฝั่งหนึ่งของตัวเครื่อง จะเห็นได้ว่าแต่ละแขนจะมีสายไฟต่อออกจากแผ่นวงจรหลัก
สายไฟนี้จะไปยังปลายแขน โดยจะเห็นว่านอกจากจ่ายไฟให้มอเตอร์แล้ว ยังมีการจ่ายไฟให้กับตัวหลอด LED ที่วางซ้อนอยู่ ซึ่งไฟนี้จะถูกกระจายแสงด้วยแผ่นพลาสติคใสที่เราได้ถอดออกไปก่อนหน้านี้
ทั้งนี้สายไฟที่ต่อไปยังตัวมอเตอร์และหลอดไฟ LED จะแยกออกไปเป็น 2 ชุดด้วยกัน โดยแบ่งเป็นชุดละ 3 เส้นแล้วมัดรวมกัน มีการติดยึดแน่นติดไว้กับแขนของเครื่อง
ส่วนอีกฝั่งหนึ่งสายไฟจากตัวเตอร์จะถุกบัดกรีเข้ากับตัวบอร์ดของ DJI Phantom 4 โดยตรง เราจะต้องใช้หัวแร้งกับที่ดูดตะกั๋วบัดกรีในการที่จะถอดสายสัญญาณส่วนนี้ออก
การทำแบบนี้โดยไม่ใช้คอนเน็คเตอร์เนื่องจาก มอเตอร์ต้องการกระแสสูง จึงต้องทำให้มั่นใจว่าการส่งกระแสไฟฟ้าจากแผ่นวงจรไปยังมอเตอร์นั้นไม่ติดขัดหรือมีความต้านมากเกินไปเมื่อเทียบกับการใช้ Connector และมีความน่าเชื่อถือกว่าอีกด้วย
ถือเป็นตัวอย่างพอหอมปากหอมคอนะครับ ในการแกะดูชิ้นส่วนต่างๆด้านในของ DJI Phantom 4 สำหรับคนที่ต้องการจะ ซ่อม DJI Phantom 4 ด้วยตนเอง สำหรับกรณีที่เกิดความเสียหายกับตัวเครื่องภายนอก หรือต้องการเปลี่ยนชิ้นส่วนภายใน
แต่หากเป็นความเสียหายในเชิงคุณสมบัติการทำงานอื่นๆในแง่ Software ก็คงต้องอาศัยการส่งเข้าซ่อมศูนย์อยู่ดีละครับ
ต้องขอเตือนไว้สำหรับท่านที่ต้องการแกะเครื่องเองว่า ทางเราไม่รับผิดชอบความเสียหายใดๆทั้งสิ้นกับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นหากท่านแกะเครื่อง DJI Phantom 4 ด้วยตัวเองตามภาพที่เรานำเสนอนี้ ดังนั้นก่อนตัดสินใจแกะเอง กรุณาศึกษาคู่มือ และข้อมูลการรับประกันต่างๆให้ถี่ถ้วนก่อนแกะซ่อม DJI Phantom 4 นะครับ
หากท่านต้องการซื้ออะไหล่ หรือสอบถามข้อมูลต่างๆ รวมไปถึงการซื้อเครื่องใหม่ทั้งลำเพราะที่นี่เขา ขาย DJI Phantom 4